จิตแพทย์ติวเข้ม วิธีสู้ ความเครียด หน้าร้อน


นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์

ปะหน้าใครต่อใครต้องได้ยินบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าอากาศร้อนเอามากๆ ขนาดยังไม่ถึงเดือนเม.ย. แล้วจะยิ่งขนาดไหน เมื่อได้ติดตามการพยากรณ์ อากาศจากสื่อต่างๆ ล้วนตีแผ่ความเดือนร้อนจากภัยแล้งกันเป็นล่ำเป็นสัน ส่วนอุณหภูมิ ความร้อนพยากรณ์กันว่าไม่ทำสถิติสูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์แต่ แต่ว่าอุณหภูมิเวลานี้ที่ เมือง กาญจนบุรี ก็ทุบสถิติสูงที่สุดของประเทศนี้ที่ 42 องศาเข้าไปแล้ว ส่วนรองลงมาเป็นจังหวัดภาคอีสาน เหนือ กลาง ถัวเฉลี่ยอยู่ที่ 40 องศา แม้แต่กรุงเทพยังปาไปถึง 39 องศาแล้ว วันนี้เรามารับฟังความคิดเห็นของนักจิตวิทยากันดูว่าจะแนะนำและตักเตือนคนทั่วไปให้เผชิญหน้ากับช่วงฤดูร้อนกันอย่างไร จึงจะไม่ทำให้อารมณ์เกิดความเครียด และสร้างความรุนแรงในสังคมขึ้น

ช่วงหน้าร้อนสุขภาพจิตของคนเป็นอย่างไรและจะเกิดอะไรติดตามมา รวมทั้งจะป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างไร


อย่างที่เราทราบกันว่าตอนนี้เรื่องความเครียดในสังคมของเราก็มีเยอะอยู่แล้ว พอช่วงของอากาศร้อน ก็ยิ่งจะทำให้คน เรียกว่า ความอดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย โอกาสที่จะเกิดเรื่องของการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาต่างๆ จะสูง ไม่ว่า ความรุนแรงทั้งกับตนเองและกับคนอื่น ดังนั้นถ้าให้ทุกคนตระหนักถึงข้อนี้เอา ไว้จะได้ดูเหมือนว่า เราจะได้ไม่ตกอยู่ในความเสี่ยงของปัญหานี้ คือ รู้เขา รู้เรา รู้ว่าโอกาสที่เราจะหงุดหงิด โมโห มีสูงรวมทั้งคนอื่นด้วย ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ถ้า เกิดเราควบคุมตัวเองได้ เกิดไปเจอกับคนอื่นที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ โอกาสที่เรียกว่า เราให้อภัย ไม่ถือ ไม่โกรธจะได้ง่ายขึ้น คือเบื้องต้นรู้ว่า ความร้อนหรืออากาศร้อนทำให้คนหงุดหงิด ความอดทนต่ำกัน ทุกคนมีสิ่งนี้อยู่ในใจ ทีนี้ก็คือช่วยลดอุณหภูมิ ส่วนจะลดกันยังไง คงไม่พันเรื่องความต้องการของคนเรื่องกินอิ่ม นอนหลับ คนเราถ้าร้อนด้วย หิวด้วย นอนไม่พอ ก็จะหงุดหงิด โมโหง่าย เพราะฉะนั้นเรื่องการพักผ่อนจะต้องให้เพียงพอ อะไรที่ ไม่จำเป็น ต้องทำให้นอนดึก หรืออดตาหลับขับตานอน ที่จะทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอก็ให้หลีกเลี่ยงอันนี้คือสิ่งที่จะลดได้ส่วนหนึ่งแล้วเรื่องการกินอาหารก็ให้เป็นเวลา ส่วนอีกอันคือเรื่องการหย่อนใจ เรื่องของงานอดิเรก อะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้มีความเพลิดเพลินใจ เรียกว่าพักสมองจากความคร่ำเครียดทั้งหลายแหล่ ทำกิจกรรมที่แต่ละคนชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นกีฬาหรืออีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องการออกกำลังกาย การทำโยคะ ไท้เก๊ก พวกนี้มีส่วนช่วยได้เยอะ เพราะทำให้เป็นเวลาที่เราพักผ่อนด้วย แล้วได้มีสมาธิ ตั้งสติ สูดลมหายใจต่างๆ ก็ทำให้ช่วยลดอุณหภูมิในตัวของเราแล้ว เพราะฉะนั้นโอกาสที่เรียกว่า เรามีสติ รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองนี่สูงขึ้น เวลามีเรื่องอะไรมาปะทะเราก็รู้ว่ากำลังโกรธแล้ว ต้องทำยังไงดี อาจจะฉุกคิด ช่วยชะลออารมณ์ของตัวเอง หรือว่าทำให้ออกห่างไกลจากเหตุการณ์นั้นที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ร้อนขึ้น ขณะที่ตัวเราถอยออกมาได้ เราก็จะไม่เป็นตัวกระตุ้นให้คนอื่นร้อนขึ้นเหมือนกัน เราถูกกระทำโดยคนอื่น เราก็โกรธมาก แล้วก็หายเร็วให้อภัยได้ง่ายในทำนองเดียวกันแต่ละคนเป็นสิ่งแวดล้อมของซึ่งกันและกัน ถ้าเราเย็น เราก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่เย็นให้กับคนอื่น โอกาสที่คนอื่นจะเดือนร้อนก็จะน้อยลง แต่ทางที่ดีคือเผยแพร่ความคิดนี้ไปสู่คนรอบข้างด้วย เพื่อจะทำให้คนอื่นมีสติ มีสมาธิ ในช่วงที่อากาศร้อนๆ


ความเครียด

การดื่มแอลกอฮอล์ช่วงหน้าร้อนยิ่งอันตรายต่อร่างกายมากขึ้น

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หน้าร้อนนั้น ไม่เหมาะเลยครับ คือธรรมดา ไม่มีเรื่องอะไร การดื่มสุรา ยาเมา ไม่ใช่สิ่งที่สนับสนุนอยู่แล้ว เหมือนกับคำที่เขาล้อเลียนกันว่า น้ำเปลี่ยนนิสัยคน คนเราพอหากเมาแล้วก็ขาดสติทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควร ไม่เหมาะสมได้ง่ายแล้วการดื่มนี่ฤดูกาลดื่มควรไปอยู่หน้าหนาวเสียมากกว่า เพราะถ้าดื่มร้อนๆ ยิ่งทำให้ร้อนข้างในร่างกาย ถ้าไม่ดื่มก็ร้อนอยู่แล้วถ้าไปเพิ่มเข้าไปก็มีโอกาสขาดสติมีสูง การที่จะทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควรก็จะเยอะขึ้นอีกอย่างหนึ่งสำหรับวัฒนธรรมไทยเรา เรื่องเทศกาลสงกรานต์ของคนโบราณ ก็ช่วยทำให้หายร้อนได้เยอะ


นอกจากหน้าร้อนทำให้คนสุขภาพจิตไม่ดีแล้วส่งผลเสียด้านโรคภัยไข้เจ็บด้วย

โรคทางกายที่มากับหน้าร้อนก็คือเรื่องท้องเดิน อุจจาระร่วงนั้นมาอยู่แล้ว เพราะว่าหน้าร้อนอาหารก็จะบูดเสียได้เร็วจะทำให้เกิดปัญหาของทางเดินอาหาร ท้องเสียก็จะเกิดได้บ่อยอีกอย่างหนึ่งก็เรื่องโรคลมแดด เพราะว่าอุณหภูมิสูงแล้วร่างกาย ถ้าไปตากแดด หรือ ไปออกกำลังกายกลางแจ้งก็อาจจะทำให้หน้ามืดหรือหมดสติได้ ต้องระวังเรื่องตากแดด แล้วก็เรื่องการขาดน้ำต้องระมัดระวังด้วน รวมถึงเกลือแร่ ควรมีเพิ่มเติมเข้าไปด้วยที่จะดื่มเสริมเมื่อเราออกกำลังกาย เพื่อจะลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากความร้อนต่างๆ



ความเครียด


ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ : ประเด็นร้อน วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2556 ฉบับที่ 21885 โดย นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย




  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม