สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
กิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัด คือการนำกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย รวมทั้งวิธีการและอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้ในการ บำบัดเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความ บกพร่อง ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้และ พัฒนาการเกี่ยวกับเด็ก โดย กระบวนการตรวจ ประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ ป้องกันการ ไร้ความสามารถและคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี

กิจกรรมบำบัดด้านสุขภาพจิต


    1. การให้คำปรึกษาทางกิจกรรมบำบัด
    2. การฝึกและให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการทำ กิจวัตรประจำวัน
    3. การส่งเสริมด้าน cognition perception และการเคลื่อนไหว เช่น กิจกรรมช่วยส่งเสริม ด้านความจำ การทำกิจกรรมตามขั้นตอน ฯลฯ
    4. กิจกรรมส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น บทบาท ของบิดา มารดา ทักษะการสื่อสารการรักษาสิทธิ์
    5. ทักษะการจัดการกับความเครียด และ เทคนิค การผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกการหายใจ โยคะ เป็นต้น
    6. การจัดการด้านเวลาที่เหมาะสมในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน
    7. การจัดการด้านการใช้จ่ายเงิน รวมไปถึง การใช้จ่ายเงินในอนาคต
    8. การวางแผนการทำงาน

กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ


    1. การฝึกและให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการทำ กิจวัตรประจำวัน
    2. ประเมินและให้การบำบัดในด้านการรับรู้ การรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว
    3. ประยุกต์และดัดแปลงอุปกรณ์เสริม และอุปกรณ์ช่วย
    4. ให้คำแนะนำและดัดแปลงสภาพบ้านหรือสภาพ แวดล้อมรวมทั้งขจัดสิ่งกีดขวางทางสถาปัตยกรรม
    5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ การสงวนรักษาพลังงาน (energy conservation) ที่ถูกต้อง
    6. การเสนอแนะให้ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุได้รู้จัก การเตรียมตัว วางแผนเพื่อการยอมรับและเตรียม พร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ
    7. จัดตารางเวลา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการ ดำเนินชีวิต ภายหลังเกษียณอายุจากงานประจำ
    8. เสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ โดยผ่านทางกิจกรรม เช่น กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมออกกำลังกาย การพักผ่อน

กิจกรรมบำบัดในเด็ก


ขอบข่ายงาน

    1. คัดกรองพัฒนาการแก่เด็กปกติและเด็กที่มีอัตรา เสี่ยงสูงเพื่อให้ทราบถึงระดับพัฒนาการ รวมถึง การกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่ม (early intervention) ในเด็ก กลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง ต่อการมีพัฒนาการล่าช้า
    2. ให้การกระตุ้นบำบัดรักษาแก่เด็กที่มีพัฒนาการ ล่าช้ากว่าวัยเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสม ตามวัย
    3. พัฒนาระบบการรับรู้-เรียนรู้ในเด็ก (perception and intellectual function)
    4. พัฒนาการระบบประสาทการรับรู้ความรู้สึก (sensory integration system)
    5. ให้การฝึกฝนในเรื่องกิจวัตรประจำวันแก่เด็ก เพื่อให้สามารถช่วยเหลือดูแลตนเองได้ตามความ สามารถ

    รายละเอียดเพิ่มเติมของโปรแกรม

โปรแกรมเด็ก LD ที่มีปัญหาด้านการเขียน


    1. โปรแกรมการกระตุ้นด้านการประสมประสาน กันระหว่างการเรียนรู้และการรับรู้ (sensory integration program)
    2. โปรแกรมกระตุ้นการรับรู้และการเรียนรู้ (perception & cognition)
    3. โปรแกรมกระตุ้นการประสานงานของกล้ามเนื้อ มัดเล็ก (fine motor coordination)
    4. โปรแกรมการฝึกการวางแผนการเคลื่อนไหว (motor Planning)

การดำเนินการ


ลักษณะการบำบัดเป็นกลุ่มกิจกรรม มีการรายงานผลการรักษากับผู้ปกครอง เป็นระยะเวลา 8 ครั้ง

การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด