สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
กิจกรรมกลางวัน

ผู้ที่ได้ประโยชน์จากกิจกรรมกลางวันคือใคร


ผู้ที่ต้องการปรับตัวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการจัดการทางด้านอารมณ์ การจัดการความเครียด การปรับตัวทางสังคม การควบคุมพฤติกรรมและการดูแลตนเอง ที่มีสาเหตุ จากความเจ็บป่วยต่างๆ ทางด้านร่างกายหรือจิตใจ หรือความไม่เหมาะสมทางด้านสิ่งแวดล้อมทำให้ มีผลกระทบต่อความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างปกติ

ใครคือผู้ให้บริการในกิจกรรมกลางวัน


ผู้ให้บริการกิจกรรมกลางวัน ได้แก่ บุคลากรทาง การแพทย์และสุขภาพจิตที่ได้รับการอบรมฝึกฝน ให้มีความรู้ ความชำนาญในการวินิจฉัยปัญหา และวางแผนบริหารกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกิจกรรมกลางวันในการให้ความรู้ ฟื้นฟูพัฒนาผู้รับบริการ โดยการทำงานร่วมกันเป็นทีม บุคคลากรต่างๆ ดังกล่าว ประกอบด้วย จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา และนักกายภาพบำบัด

ผู้รับบริการมาทำอะไรที่กิจกรรมกลางวัน


    ผู้รับบริการมาร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ Day Program สัปดาห์ละ 1–5 วัน ตามปกติ ความถี่ของการมาร่วมทำกิจกรรมขึ้นอยู่กับ การประเมินของผู้บำบัด
    • ผู้บำบัดประเมินความสามารถของร่างกาย จิตใจความสามารถในการเข้าสังคมและค้นหาปัญหา ของผู้รับบริการ เพื่อวางแผนจัดกิจกรรม ให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้รับบริการแต่ละราย
    • กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดให้เน้นการแก้ไขข้อบกพร่อง ของผู้รับบริการ เช่น ปัญหาบุคลิกภาพ การเข้าสังคม การสื่อสารและอยู่ร่วมกับผู้อื่น การปรับตัวกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง การใช้ชีวิต อย่างสมดุล มีคุณภาพและสอดคล้องกับเศรษฐกิจ ของบุคคลและครอบครัว ปัญหาการดูแลตนเอง ทั้งด้านความเป็นอยู่และสุขอนามัย ปัญหาทักษะ ในการเลี้ยงชีพ

โปรแกรมกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ


โปรแกรมกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุเป็นบริการ เพื่อช่วยฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการ โดยใช้กิจกรรมต่างๆเป็นสื่อในการบำบัดรักษา และส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตประจำวัน ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพ

โปรแกรมประกอบด้วยการบริการทางกิจกรรมบำบัด และการบริการทางกายภาพบำบัด


กิจกรรมบำบัด

  • การประเมิน สังเกตุ และให้คำปรึกษา ในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
  • การประเมินและให้การบำบัดในด้านการรับรู้ การรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว
  • การฝึกทักษะสังคม
  • การฝึกวางแผนการเดินทางโดยวิธีที่เหมาะสม และการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยจากอุบัติเหตุ
  • การจัดการความเครียดและการจัดการปัญหา
  • การจัดการเวลาและการเงิน
  • ฝึกปฏิบัติและเสริมทักษะในบ้านให้เหมาะสมเช่น การดูแลเสื้อผ้า การจัดการเกี่ยวกับความสะอาด ภายในบ้าน การทำครัว เป็นต้น
  • กิจกรรมนันทนาการ : ดนตรีบำบัด การจัดสวน
  • การฝึกทักษะการใช้มือ ให้สามารถทำกิจกรรมได้ตามศักยภาพ
  • แนะนำ วางแผน และเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอาย
  • แนะนำและจัดตารางเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ภายหลังเกษียณอายุ

กายภาพบำบัด

  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด
  • การควบคุมและเสริมสร้างสมดุลย์ในการทรงตัว

รูปแบบกิจกรรม มี 2 รูปแบบ คือ


1. กิจกรรมกลุ่ม

    เพื่อช่วยฟื้นฟูทักษะต่างๆ เช่น ทักษะสังคม ทักษะการจัดการอารมณ์

2. กิจกรรมเดี่ยว

    2.1 กิจกรรมบำบัด การนำกิจกรรมและอุปกรณ์ที่เหมาะสม มาใช้ในการบำบัด เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟู ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต ประจำวัน และคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี
    2.2 ช่วยเหลือและฟื้นฟูในเรื่องของทักษะ การเคลื่อนไหว การออกำลังกายสำหรับ ผู้สูงอายุและคงศักยภาพทางด้านสุขภาพ
    2.3 โปรแกรมจิตวิทยา ให้คำปรึกษาญาติและตัวผู้สูงอายุ เรื่องการปรับตัว ส่งเสริมเรื่องความจำ

โปรแกรมแบ่งเวลาเป็น 3 ช่วง คือ


กิจกรรมกลุ่ม

โปรแกรมช่วงที่ 1 เวลา 09.00-12.00 น. (3 ชั่วโมง)

โปรแกรมช่วงที่ 2 เวลา 10.30-14.30 น. (3 ชั่วโมง)

กิจกรรมเดี่ยว

ตามเวลานัดหมาย ครั้งละ 1 ชั่วโมง

* หมายเหตุ พักเที่ยง เวลา 12.00 – 13.00 น.

ผู้ที่ได้รับประโยชน์


ผู้สูงอายุ

  • ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่เพียงลำพังและไม่สามารถ ดูแลตนเองได้
  • ผู้สูงอายุในครอบครัวที่ไม่สามารถให้การดูแล ได้อย่างใกล้ชิด
  • ผู้สูงอายุที่รู้สึกเหงา หรือมีเวลาพบปะพูดคุย กับสมาชิกในครอบครัวหรือผู้อื่นน้อยกว่าวันละ 2-3 ชั่วโมง
  • ผู้ที่มีปัญหาทางพฤติกรรม การดูแลตนเอง และต้องการปรับปรุงทักษะในการดำเนินชีวิต

การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด