สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
ผู้ป่วยใน

แผนกผู้ป่วยใน ให้บริการสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและพักฟื้นในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น คล้ายบ้าน และเป็นกันเอง การดูแลรักษาผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวชในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมนารมย์นั้น นอกจากการรักษาอาการทางจิตใจและพฤติกรรมด้วยยาแล้ว ยังมุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยให้สามารถรับผิดชอบตนเอง และดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุขมากที่สุด ตลอดจนการช่วยสร้างภูมิต้านทานป้องกันการเกิดความเจ็บป่วยซ้ำโดยอาศัยการบำบัดที่เรียกว่า "นิเวศน์บำบัด"

นิเวศน์บำบัด (Milieu therapy) เป็นกระบวนการการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสุขภาพจิต และจิตเวชเกิดทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพได้ด้วยตนเอง และช่วยป้องกันการเจ็บป่วยซ้ำ

ความสำเร็จของ "นิเวศน์บำบัด" จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้าน ตั้งแต่การจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ปลอดภัย อำนวยต่อการปรับตัวและพฤติกรรมของผู้ป่วย นอกจากการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ สังคมและจิตใจแล้ว ยังมีทีมบุคลากรจากหลายสาขา เช่น พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด ที่มีความรู้ ความชำนาญ เป็นผู้ดำเนินการรักษาให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลขณะที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงมีการจัดโปรแกรมและกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้วินัย กติกา ความเหมาะสมและความคิดเห็นของสังคม เข้าใจปัญหาทางอารมณ์ และกระบวนการคิดของตนเองที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ฝึกให้รู้จักรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของตนเอง ฝึกความอดทน เพิ่มทักษะ การสื่อสารกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ สามารถรับมือกับความเครียดที่เข้ามาในชีวิต เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถเห็นคุณค่าของตนเอง และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นปกติสุข

ดังนั้น โรงพยาบาลมนารมย์จึงขอความร่วมมือจาก ผู้ป่วยและญาติ ให้ปฏิบัติตามโปรแกรมของ โรงพยาบาล เคารพและรักษากฎระเบียบวินัย และกติกาต่างๆ ของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ของกระบวนการบำบัดรักษา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ที่สูงสุดของการรักษาต่อตัวท่านเองหรือคนที่ท่านรัก


ระเบียบการเยี่ยมผู้ป่วยใน

ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใน


ระเบียบการเยี่ยมผู้ป่วยใน

โรงพยาบาลมนารมย์คำนึงถึงความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย จึงขอความร่วมมือกับทุกท่าน ปฏิบัติตามระเบียบการเยี่ยมผู้ป่วยดังต่อไปนี้

1. โรงพยาบาลอนุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยเฉพาะเวลา เยี่ยมที่กำหนด

2. โรงพยาบาลอนุญาตเฉพาะผู้เยี่ยมที่อยู่ในรายชื่อ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้

3. ผู้เยี่ยมต้องแลกบัตรแสดงตนกับบัตรผ่านจาก เจ้าหน้าที่และเซ็นต์ชื่อเข้าเยี่ยม

4. กรุณาอย่านำกระเป๋า โทรศัพท์มือถือ และของมีค่าเข้ามาในบริเวณหอผู้ป่วย

5. ห้ามพกพาสารเสพติดเข้าในโรงพยาบาล หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

6. อาหารหรือสิ่งของฝากผู้ป่วย ต้องได้รับการตรวจ และอนุญาตจากทีมผู้ดูแลรักษาก่อนทุกครั้ง

7. สิ่งของต้องห้ามในหอผู้ป่วยในและห้ามมอบให้ ผู้ป่วย ได้แก่

8. ขอให้ทุกท่านรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และไม่นำข้อมูลของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น

9. ห้ามถ่ายรูปหรือภาพเคลื่อนไหวทุกชนิดในหอ ผู้ป่วย หากฝ่าฝืนทางโรงพยาบาลมีความจำเป็น ต้องดำเนินการ ขอให้ลบภาพออกจากอุปกรณ์ บันทึกดังกล่าว

10. ไม่อนุญาตให้เด็กอายุน้อยกว่า 7 ปี เข้าหอผู้ป่วย

11. ห้ามนำสัตว์เลี้ยงทุกชนิด และอาหารหรือผลไม้ กลิ่นแรง เช่น ทุเรียน เข้ามาในบริเวณโรงพยาบาล

12. ห้ามสูบบุหรี่ในหอผู้ป่วยในและในบริเวณ โรงพยาบาล


ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใน

ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยใน โรงพยาบาลมนารมย์

1. เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะขอตรวจสิ่งของ และวัสดุต้องห้าม ซึ่งผู้ป่วยนำติดตัวมาและอาจ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยและผู้อื่นได้ และสวมชุด ที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ กรณีออกนอกโรงพยาบาลแล้วกลับเข้ามา ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนชุด และได้รับการตรวจร่างกาย และความเรียบร้อยก่อนเข้าหอผู้ป่วย

2. รายละเอียดสิ่งของและวัสดุต้องห้าม ไม่อนุญาต ให้นำเข้ามาในแผนกผู้ป่วยใน

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยา ของมึนเมาทุกชนิด
    • ยาที่ซื้อมาเองจากร้านขายยา หรือยาที่สั่งโดยแพทย์ภายนอก
    • กล้องถ่ายรูป กล้องวิดิทัศน์ โทรศัพท์มือถือ
    • มีดโกน กรรไกร และของมีคมทุกชนิด
    • ถุงพลาสติก เชือก เชือกรองเท้า
    • สิ่งของ หรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค
    • สัตว์เลี้ยงทุกชนิด

3. เครื่องประดับ และอุปกรณ์ใช้งานส่วนตัว ไม่ควร เก็บเครื่องประดับ และของมีค่าไว้กับตนเอง โรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญหาย ส่วนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ของผู้ป่วยจะนำมาใช้ ได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากแพทย์เจ้าของไข้

4. กรณีที่ผู้ป่วยต้องการมีเงินสำรองติดตัวไว้เพื่อ ซื้อของ หรือสั่งอาหารพิเศษ โรงพยาบาลขอความ ร่วมมือให้ญาติ ฝากเงินไว้ที่พยาบาล และทำการ เบิกจ่ายผ่านพยาบาลทุกครั้ง

5. การติดต่อบุคคลภายนอก ต้องได้รับอนุญาตจาก แพทย์เจ้าของไข้

    5.1 โรงพยาบาลมีบริการโทรศัพท์สาธารณะ ในบริเวณห้องโถงหอผู้ป่วยใน โดยอนุญาต ให้ผู้ป่วยรับสายเข้าไม่เกิน 15 นาที
    5.2 กรณีที่ผู้ป่วยต้องการใช้โทรศัพท์เพื่อติดต่อ ญาติ พนักงานเคาน์เตอร์พยาบาลจะเป็น ผู้ต่อสายให้และจำกัดเวลาไม่เกิน 15 นาที ต่อครั้ง โรงพยาบาลจะเรียกเก็บเงิน ค่าโทรศัพท์จากการโทรออก ซึ่งจะปรากฏ ในรายการค่าใช้จ่ายการรักษา
    5.3 กรณีที่มีโทรศัพท์ถึงผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยไม่ สามารถรับสายได้ จ้าหน้าที่โรงพยาบาล จะรับและบันทึกข้อความและแจ้งผู้ป่วย
    5.4 ผู้ป่วยที่ต้องการส่งจดหมายถึงญาติหรือ บุคคลภายนอก โรงพยาบาลมีบริการ จัดส่ง โดยจัดเตรียมซองจดหมายและ อากรแสตมป์ โดยผู้ป่วยเป็นผู้ชำระค่า อากรแสตมป์เอง

6. การสูบบุหรี่ เนื่องจากโรงพยาบาลมีความมุ่งมั่น ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ หากผู้ป่วยมีความจำเป็น ต้องสูบบุหรี่ ขอให้แจ้งให้แพทย์เจ้าของไข้ทราบ โรงพยาบาลมีโปรแกรมเลิกสูบบุหรี่ และขอ เชิญชวนทุกท่านที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่เข้ารับ บริการได้ตลอดเวลา

7. กำหนดเวลาผู้ป่วยออกนอกหอผู้ป่วยใน ห้ามออก นอกหอผู้ป่วย ยกเว้นได้รับอนุญาตจากแพทย์ เจ้าของไข้ และกลับเข้าหอผู้ป่วยก่อน 21.00 น.

8. เจ้าหน้าที่จะปิดโทรทัศน์บริเวณห้องโถง เวลา 21.00 น. และผู้ป่วยควรเข้านอนเวลา 22.00 น. เป็นอย่างช้า การนอนดึก หรือนอน ไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อการรักษา และสุขภาพ ของผู้ป่วย

9. การเยี่ยมผู้ป่วยใน

    9.1 โรงพยาบาลอนุญาตให้ญาติ/ผู้ที่ญาติ อนุญาตที่มีรายชื่อกำหนดไว้เข้าเยี่ยม ผู้ป่วย การแจ้งชื่อเพิ่มเติมญาติแจ้งผ่าน แพทย์เจ้าของไข้
    9.2 เวลา
    • จันทร์ – ศุกร์
    • เวลา 16.30 น. – 21.00 น.
    • เสาร์ – อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
    • เวลา 11.00 น. – 13.00 น. และ เวลา 16.30 น. – 21.30 น.
    9.3 ผู้ที่จะเฝ้าไข้ผู้ป่วย ต้องได้รับอนุญาตจาก แพทย์ก่อน

10. โรงพยาบาลมนารมย์ขอสงวนสิทธิ์ในการรักษา ดังนี้

    • ผู้ป่วยหรือญาติไม่ปฏิบัติตามระเบียบทางโรงพยาบาล
    • ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้ / จำหน่าย / จ่ายเอกสารเสพติดในโรงพยาบาล
    • ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ต่อตนเองและผู้อื่น



ห้องพักผู้ป่วย