สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
ละครบำบัด

ละครบำบัด คือ รูปแบบของการบำบัดที่นำศาสตร์ ของละครมาประยุกต์ใช้ ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงของบุคคลภายใต้ความสัมพันธ์ของ การบำบัดรักษานักละครบำบัด (Dramatherapist) เปรียบเสมือนทั้งนักคลินิกและศิลปินที่ผ่านการฝึกปฏิบัติอย่างเคร่งครัดภายใต้มาตรฐานของวิชาชีพ ในการนำเสนอวิธีการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เชิงบวกของจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม แก่ผู้รับการ บำบัด

ละครบำบัดไม่ได้มีจุดมุ่งหมายโดยตรงเพื่อการสร้าง นักแสดงหรือจัดสร้างละคร แต่หากเป็นการกระตุ้น และส่งเสริมการใช้จินตนาการผนวกกับความคิด สร้างสรรค์ ดังนั้นผู้รับการบำบัดจึงไม่จำเป็นต้องมี พื้นฐานในการแสดงก่อนการเข้ารับการบำบัด

แนวทางของการบำบัด


    จะมุ่งเน้นการพัฒนาจากสิ่งที่ผู้รับการบำบัดสามารถ ทำได้ และมีการใช้อุปมาเปรียบเทียบ (Metaphor) เพื่อให้ผู้รับการบำบัดไม่รู้สึกว่าถูกรุกรานพี้นที่ ส่วนบุคคล (Personal Space) ทั้งนี้ ผู้รับการบำบัด มีอิสระในการเลือก ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในระดับ ที่ตนเองรู้สึกหรือคิดว่าเหมาะสม ภายใต้สิ่งแวดล้อม ที่ปลอดภัยและปราศจากการตัดสิน หรือประเมินค่า (Non-Judgmental Environment)

ละครบำบัดประกอบไปด้วย


    การนำใช้รูปแบบของการแสดงออก (Dramatic Expressive Forms) ที่หลากหลายผ่านการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบของการใช้ภาษาและไม่ใช้ภาษา (Verbal and Non-Verbal Communication) ตัวอย่างเช่น
    • การวาดภาพและการสร้างงานฝีมือ
    • การใช้จินตนาการ
    • การแสดงบทบาทสมมุติ
    • การเล่าเรื่องและการแสดงบทบาทตาม เนื้อเรื่อง
    • การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับรูป (Images) และ สัญลักษณ์ (Symbols)
    • การแต่งเรื่อง (Storymaking)
    และการสร้างตัวละคร (Characters)
    • การแสดงออกและการเล่าเรื่อง ผ่านการใช้ดนตรี
    และการเคลื่อนไหวของร่างกาย
    • การทำกิจกรรมโดยใช้อุปกรณ์ เช่น หุ่น, หน้ากาก,ของเล่น, ผ้า และวัสดุต่างๆ
    • บทกลอนและบทความ

ลักษณะเซสชั่นของละครบำบัด (A Dramatherapy Session)


    นักละครบำบัดจะทำงานงานร่วมกับผู้รับการบำบัด ในรูปแบบกลุ่มหรือเดี่ยว ตามตารางและระยะเวลา ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยปกติอยู่ในความถี่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที ต่อครั้งของเซสชั่นบำบัด ในแต่ละเซสชั่นของ ละครบำบัด ประกอบด้วยโครงสร้างหลัก 3 ส่วน The Warm Up ผู้รับการบำบัดเตรียมพร้อมร่างกาย, เสียง และจินตนาการ The Main Event ผู้รับการบำบัดเข้าสู่กระบวนการ "การใช้จินตนาการ อย่างสร้างสรรค์" ผ่านทางรูปแบบต่างๆ ของการ แสดงออก The Grounding or De-roling ผู้รับการบำบัดออกจากโลกจินตนาการ และกลับสู่ ปัจจุบัน

กลุ่มบุคคลที่เหมาะสมกับการเข้ารับการบำบัดด้วยละคร


    ละครบำบัดสามารถใช้ได้กับบุคคลในทุกช่วงวัย และในหลากหลายสถานที่ เช่น โรงเรียน, โรงพยาบาล คลินิกจิตเวช, ศูนย์พัฒนาการทักษะการเรียนรู้, ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและปรับพฤติกรรม, เรือนจำ, บ้านพักคนชรา เป็นต้น ตัวอย่างของผู้เข้ารับการบำบัด ได้แก่ • เด็กออทิสติก (ASD), เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น (ADHD), เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม • บุคคลที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความเครียด, โรคซึมเศร้า รวมถึงโรคต่างๆทางจิตเวช • บุคคลที่มีปัญหาทางความคิดและบุคลิกภาพ • บุคคลที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการติด สารเสพติด • บุคคลที่ประสบปัญหาภาวะสมองเสื่อม

การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด