สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
ดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดคืออะไร ดนตรีบำบัดเป็นการนำดนตรีมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อรักษาผู้ป่วยหรือพัฒนาศักยภาพด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด และทักษะทางสังคม ทั้งแบบเดี่ยว และแบบกลุ่มในทุกช่วงวัย อีกทั้งยังสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่อยากเพิ่มพูนศักยภาพของตนเอง โดยมีดนตรีเป็นเครื่องมือและสื่อกลางในการบำบัด ดนตรีเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการแสดงความรู้สึก และรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น ยามที่คนเราไม่สามารถบรรยายความรู้สึกออกมาทางคำพูดได้ เราสามารถเล่นดนตรี หรือร้องเพลงเป็นการระบายความรู้สึกออกมาแทน เพราะฉะนั้นดนตรีจึงสามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกทางบวกและผ่อนคลายความตึงเครียดได้ รวมทั้งเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ที่เล่นดนตรีอยู่ด้วยกัน และการร้องเพลงยังช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองได้อีกด้วย การนำดนตรีมาใช้ในการบำบัดรักษาแตกต่างจากการฟัง ร้อง หรือ เล่นดนตรีทั่วๆ ไป เนื่องจากในการบำบัดนั้น ดนตรีจะถูกใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษาและเพื่อการแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการ โดยจะมีการพูดคุยรับรู้ถึงปัญหาและวางแผนการรักษาเป็นลำดับ โดยที่การรักษาทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานอย่างเหมาะสมและควบคุมโดยนักดนตรีบำบัด ดนตรีบำบัดแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ การฟัง (receptive) และ การเล่น (active) โดยทั้งสองประเภทจะถูกเลือกตามความเหมาะสมแก่ผู้รับบริการ

นักดนตรีบำบัดทำอะไรบ้าง


    นักดนตรีบำบัดจะให้การตอบสนองโดยใช้ดนตรีให้เข้ากับอารมณ์ความรู้สึกและการสื่อสารของผู้ให้รับบริการแต่ละรายรวมถึงวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับบุคคลนั้นๆ (งานของนักดนตรีบำบัดคือการใช้เครื่องดนตรีสร้างเสียงดนตรีและจังหวะเพลงในรูปแบบต่างๆ) จุดประสงค์ที่จะช่วยเหลือส่งเสริมให้เกิดการแสดงความรู้สึกนึกคิด เพิ่มทักษะในการใช้ชีวิต ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม สร้างความคิด สร้างสรรค์ มองเห็นคุณค่าในตัวเองและปรับปรุง คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นโดยผ่านการผสมผสานดนตรีเข้ากับการทำงานของสมอง

ประโยชน์จากดนตรีบำบัด


    • เพิ่มคุณภาพชีวิต
    • การจัดการความเครียด
    • บรรเทาอาการเจ็บปวด
    • การแสดงความรู้สึก
    • การกระตุ้นความจำ
    • เพิ่มทักษะการสื่อสาร
    • การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย
    • ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม
    • สันทนาการ

กิจกรรมดนตรีบำบัด ได้แก่


    • เล่นดนตรีแบบสร้างสรรค์
    • Improvisation
    • เล่นเครื่องดนตรี
    • Life review/reminiscence
    • การวิเคราะห์เนื้อเพลง
    • การฝึกพูดด้วย Melodic Intonation Therapy
    • การเคลื่อนไหวร่างกายกับดนตรี
    • ดนตรีและจินตนาการ ฯลฯ

ใครบ้างที่ควรเข้ากลุ่มดนตรีบำบัด


    • บุคคลที่มีปัญหาพัฒนาการด้านร่างกายและสมอง
    • ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาไม่เห็นคุณค่าในตนเอง
    • มีพฤติกรรมแยกตัวจากสังคม
    • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
    • ขาดทักษะด้านการสื่อสาร
    • ขาดทักษะด้านการคิด
    • ไม่มีสมาธิ
    • ซึมเศร้า
    • ภาวะสมองเสื่อม (สูญเสียความจำ)

การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด