สำหรับผู้ป่วยใหม่ กรุณานัดหมายล่วงหน้าโทร. 02 725 9595 หรือ 02 032 9595
กรอกและเตรียมเอกสารสำหรับผู้ป่วยใหม่
การทดสอบทางจิตวิทยา
ความสามารถทางปัญญา (Tests of Intellectual Abilities)
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (Achievement Tests)
ความสามารถทางภาษาอังกฤษ / ไทย (Tests of English / Thai Fundamental Language)
พฤติกรรมการปรับตัว (Adaptive Behavior)
การประเมินบุคลิกภาพ (Personality Inventory)
การประเมินทางด้านจิตวิทยาคลินิก (Clinical Inventory)
การประเมินทางจิตประสาท (Psycho-neurological Assessment)

แบบทดสอบผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน Achievement Tests ความสามารถทางการเรียนรู้
การทดสอบความสนใจด้านอาชีพ Career Interest Tests
ประเมินพัฒนาการ Developmental Inventories
แบบทดสอบทางประสาทจิตวิทยา Neuro-psychological tests
แบบทดสอบพยาธิสภาพทางจิต Projective Tests
แบบทดสอบบุคคลิกภาพ Personality Tests (16PF)

การจัดการความโกรธ Anger Management
การฝึกการแสดงออกอย่างเหมาะสม Assertive training
พฤติกรรมบำบัด Behavioral Therapy
การบำบัดความคิดและพฤติกรรม Cognitive Behavioral Therapy
การฝึกทักษะการสื่อสาร Communication skill
คู่สมรสบำบัด Couple therapy
ครอบครัวบำบัด family counselling
การฝึกทักษะการแก้ปัญหา Problem solving skill
การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย Relaxation technique
การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เฉพาะวิธีการหายใจ Relaxation technique (Breathing Exercise only)
การฝึกทักษะทางสังคม Social skill training

ความสามารถทางปัญญา (Tests of Intellectual Abilities)


วัดระดับของสติปัญญาทั่วไปของผู้ถูกประเมิน และเปรียบเทียบกับเด็กอื่นๆ ในวัยเดียวกัน

Crystallized Intelligence

Learned Intellectual Abilities ความฉลาดนี้เกี่ยวข้องการศึกษาในโรงเรียน เป็นความสามารถในการสร้างความคิดและความเข้าใจจากภาษาเป็นการใช้สติปัญญา ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ได้เรียนรู้มาหรือวิธีทางวิชาการ

วัดความรู้ทั่วไป
ความฉลาดในการสร้างความคิดด้วยภาษา
ความรู้ทางคำศัพท์ซึ่งส่งผลต่อการเรียน การค้นหาและสังเคราะห์ข้อมูล
การคิดคำนวณและการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ
ความรู้และความเข้าใจทางสังคม

Fluid Intelligence

Biological Capacities ความฉลาดทางพันธุกรรมซึ่งจะเติบโตพร้อมกับพัฒนาการ ด้านต่างๆ ของเด็ก เป็นความฉลาดของเด็กในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อความ อยู่รอด

วัดความสามารถในการปฏิบัติงาน จากการรับรู้และสร้างความคิดจากสิ่งที่เห็น
วัดความสามารถในการประเมินสถานการณ์ เหตุ และผลของการเกิดสถานการณ์นั้นๆ
วัดการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยอาศัยเหตุผลทางมิติสัมพันธ์
การสังเคราะห์และการจัดระเบียบในสิ่งที่เห็นจากการสังเกต

Working Memory

Working Memory ความสามารถในการรับข้อมูล บูรณาการข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ และการเรียกข้อมูลมาใช้งาน

วัดการจำในระยะสั้นสิ่งที่ได้ฟัง
การรับและจัดการกับข้อมูล
ประเมินการคิดเป็นขั้นตอนและความสามารถทางมิติสัมพันธ์
วัดการเอาใจใส่ ความสามารถในการคงสมาธิ
วัดความสามารถในการปฏิบัติงาน จากการรับรู้และสร้างความคิดจากสิ่งที่เห็น

Processing Speed

Processing Speed ความยืดหยุ่นในการคิดและความสามารถในการทำความเข้าใจกับสื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น

สังเกตความแตกต่างของสิ่งที่เห็น
การแยกแยะข้อมูลและจัดให้เข้าระบบข้อมูลด้วยความเร็ว
วัดความสามารถในการเรียนสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งวัดความเร็วและความแม่นยำ
การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กและการมองเห็น


ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (Achievement Tests)


วัดผลการเรียนในด้านของภาษาและการคิดคำนวณ ซึ่งมีผลต่อการเรียนในวิชาอื่นๆ และพัฒนาการทางความคิดและภาษา นำผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของผู้ถูกประเมินไปเปรียบเทียบ กับเด็กอื่น ในวัยเดียวกันหรือเด็กอื่นในชั้นเรียนเดียวกัน นอกจากนี้ยังนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์หา ทักษะเด่นและทักษะด้อยในการเรียนแต่ละวิชา


Math Applications
วัดความเข้าใจหลักการและ การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาโจทย์ที่พบในชีวิต ประจำวัน

Math Computation
วัดทักษะการคำนวณเบื้องต้น (บวก ลบ คูณ หาร) และทักษะการคำนวณเบื้องสูงในวิชาพีชคณิต เรขาคณิต สถิติ เป็นต้นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Reading Decoding
วัดทักษะการอ่านคำโดยการสะกดคำ ออกเสียงตัวพยัญชนะ สระ สระประสม และพยางค์ โดยเริ่มจากคำง่ายไปหายาก

Spelling/Writing
วัดทักษะการเขียนคำโดยการสะกดคำตามเสียงตัวพยัญชนะ สระ สระประสม และพยางค์ โดยเริ่มจากคำง่ายไปหายาก การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามไวยากรณ์ และเขียนเรียงความได้ ถูกต้องตามหลักการเขียน

Reading Comprehension
วัดทักษะความเข้าใจในบทความหรือเรื่องที่อ่าน โดยประเมินทั้งความเข้าใจในเนื้อเรื่องและ ความเข้าใจ โดยต้องตีความหรือหาความนัยของข้อความหรือประโยคที่อ่าน

ความสามารถทางภาษาอังกฤษ/ไทย (Tests of English/Thai Fundamental Language)


แบบทดสอบที่ใช้วิเคราะห์ทักษะทางภาษาของเด็กในวัยเรียนเพื่อประเมินว่ามีความบกพร่องในการรับสารและสื่อสารหรือไม่และอย่างไร ประกอบด้วยแบบทดสอบเกี่ยวกับความหมายของคำ โครงสร้างของคำและประโยค ความจำข้อมูลที่เป็นภาษา


ความสามารถในการรับข้อมูล (Receptive Language)
ประเมินความเข้าใจและความสามารถที่จะจดจำ
ปฏิบัติตามคำสั่งที่มีความยาวมากขึ้นและความซับซ้อนมากขึ้น
ความสามารถในการเข้าใจและจดจำเรื่องราว สามารถเล่าเรื่องหรือตอบคำถาม เกี่ยวกับเรื่องที่ได้ฟัง
ประเมินความเข้าใจและความสามารถในการคิดแบบนามธรรม
ประเมินความเข้าใจในเรื่องความหมายของคำและประโยค

ความสามารถในการสื่อสาร (Expressive Language)
ประเมินความสามารถในการสื่อสารด้วยการพูดและเขียน
ประเมินความสามารถในการสะกดคำ
การสร้างประโยคความเดียวและประโยคเชิงซ้อน
ประเมินความสามารถในการจำและสามารถพูดทวนประโยคที่ได้ยินได้อย่างถูกต้อง
ประเมินความสามารถในการจัดเรียงคำให้เป็นประโยคที่ถูกต้องตามไวยากรณ์และได้ความหมายครบถ้วน
เรียบเรียงประโยคเป็นเรื่องราวตามลำดับขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผล

พฤติกรรมการปรับตัว (Adaptive Behavior)


ประเมินพฤติกรรมการปรับตัวด้านต่าง ๆ ว่าเหมาะกับวัยหรือไม่ ผลที่ได้จะนำไปประกอบการวินิจฉัยการประเมินในทาง Neurological Tests และวางแผนการบำบัด


ด้านการสื่อสาร (Communication)
วัดทักษะในการฟังและความเข้าใจ และทักษะด้านการพูด อ่านและเขียน
ทักษะการฟังและความเข้าใจภาษา
ทักษะด้านการพูด ความสามารถแสดงออกทางภาษาได้ทั่วไป
ทักษะการอ่านและการเขียน

ด้านการใช้ชีวิตประจำวัน (Daily Living)
วัดทักษะการดูแลตนเองและทักษะด้านการใช้ชีวิตในชุมชน
ทักษะการดูแลตนเอง สามารถทำกิจวัตรประจำวัน
ทักษะการทำงานบ้าน
ทักษะด้านการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการช่วยเหลือตนเองในสังคม

ด้านทักษะทางสังคม (Social Skills)
รู้กาลเทศะและการแสดงออกที่เหมาะสม
การปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถเข้าหาผู้อื่นได้
ทักษะในการสังเกตอารมณ์ของตนเองและของผู้อื่น
การเล่นและการใช้เวลาว่าง รู้จักป้องกันตัวเองจากเด็กที่เล่นแรง
การเล่นโดยใช้จินตนาการ รู้จักแบ่งปันของเล่นกับเพื่อนโดยไม่ต้องขอ
การละเล่นที่มีกฎกติกาได้

ด้านการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก (Gross Motor and Fine Motor Skills)
ประเมินว่าพัฒนาการ ของเด็กในด้านนี้เหมาะแก่วัยหรือไม่ หรือมีความบกพร่องในด้านใด โดยประเมินในด้าน
การรับข้อมูลและให้ความหมายข้อมูล
การจัดเก็บและเรียกคืนข้อมูล
การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก
กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างประสาทการรับและส่งข้อมูลและ กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็ก

การประเมินบุคลิกภาพ (Personality Inventory)


ประเมินบุคลิกภาพที่มีผลกระทบการเรียน การเข้าสังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน


ประเมินสมาธิสั้น (Hyper-active Attention Deficit):
ประเภทของสมาธิสั้น ความหุนหัน ขาดความยั้งคิด พฤติกรรมเสี่ยง ความก้าวร้าว

ประเมินการปฏิสัมพันธ์ของผู้รับการประเมินกับพ่อแม่
ครูหรือ ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนและทัศนคติที่มีต่อการให้รางวัลและการลงโทษ

วิธีการและทักษะการแก้ปัญหาของผู้รับการประเมิน
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของที่บ้านและโรงเรียน / ที่ทำงาน

ประเมินพฤติกรรมที่เป็นปัญหา พฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำร้ายตนเองและ/หรือผู้อื่น
และอัตลักษณ์ ของผู้รับการประเมิน (Self-concept and Self-esteem)

ประเมินบุคลิกภาพเด่นและด้อยการเป็นผู้นำ
ความสามารถในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และความสามารถในการ รับมือกับความเครียด

การประเมินทางด้านจิตวิทยาคลินิก (Clinical Inventory)


ประเมินหาพยาธิสภาพทางจิต (Psycho-pathology) เพื่อการวินิจฉัยโรคและวางแผนบำบัด แบบทดสอบมีหลากหลายลักษณะ เป็นแบบ projective tests และแบบ structured tests แบบทดสอบแบ่งตามวัยเด็ก ก่อนวัยรุ่น วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ


ด้านการสื่อสาร (Communication)
วัดทักษะในการฟังและความเข้าใจ และทักษะด้านการพูด อ่านและเขียน
ประเมินหาบุคลิกภาพหรือรูปแบบพฤติกรรมที่แสดงถึงพยาธิสภาพทางจิต
ประเมินความคิดที่แสดงถึงพยาธิสภาพทางจิต
ประเมินอารมณ์ที่แสดงถึงพยาธิสภาพทางจิต
ความขัดแย้งภายในตัวเองและความขัดแย้งกับบุคคลอื่น
แรงจูงใจ ทัศนคติ และจินตนาการของผู้รับการประเมิน
การใช้กลไกการป้องกันตนที่แสดงถึงพยาธิสภาพทางจิต

การประเมินทางจิตประสาท (Psycho-neurological Assessment)


ประเมินสภาวะการทำงานของสมอง (Mental Status) เพื่อการวินิจฉัยว่าสมองส่วนใดที่เกิดพยาธิสภาพ


ความสามารถในการรับรู้ และการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (awareness and responsiveness to the environment and senses) และวิธีการใช้เชาว์ ปัญญาในการปรับตัว และแก้ไขปัญหาต่างๆ

ความสามารถทางสติปัญญา เช่น การปรับตัวให้เข้ากับการเวลา สถานที่ และ บุคคล (orientation with reference to time, place, and person) ความเข้าใจ (Comprehension) การเอาใจใส่ (Attention) ความจำ (Memory) ความคิดและการให้เหตุผลในลักษณะของนามธรรม (Abstract Reasoning) การตัดสิน (Judgment) ภาษา (Language Function)

กระบวนการคิด การจัดการและการวางแผน (Executive Function) ขั้นตอน ของการคิด ความสลับซับซ้อนของแผน การรับรู้เชิงโครงสร้าง ความเร็วใน การ ปฏิบัติงาน ความสามารถทางมิติสัมพันธ์

การบริการของโรงพยาบาล

การบริการทั้งหมด