อย่าปล่อยให้ความเครียดครอบงำ


นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลมนารมย์

โลกยิ่งพัฒนา เทคโนโลยียิ่งก้าวไกล แต่ทำไมความสุขของคนยิ่งลดน้อยถอยลง คนเครียดกันเยอะหากมองย้อนกลับไปในอดีต จะพบว่า ชีวิตที่เนิบช้า ครอบครัวที่รับประทานอาหารพร้อมหน้าทั้งเช้าค่ำ สร้างความสุขสันต์ได้มากกว่ายุคนี้หลายเท่า

นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัติพิชัย กรรมการผู้จัดการและจิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์ เปิดเผยว่า สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของแต่ละคน สังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ภาระหนี้สินทางการเงิน ชีวิตที่เร่งรีบและเครียดจากปัญหาการจราจรที่ติดขัดรุนแรง เป็นต้น ที่มีแรงกดดันมากขึ้น และปัจจัยภายในคือสุขภาพจิตของแต่ละคนมีความแข็งแรงน้อยลง


โรคเครียดคือ

สาเหตุที่ความแข็งแรงของจิตใจคนสมัยนี้อ่อนแอลง นพ. ไกรสิทธิ์กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสถาบันครอบครัวที่อ่อนแอลงกว่าในอดีต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางครอบครัวจากครอบครัวใหญ่ขยายกลายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว มีลูกน้อย ครอบครัวส่วนใหญ่มีลูกเพียงคนเดียว ทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้การอดทนรอคอย การแบ่งปันและการควบคุมอารมณ์



“จริงๆ แล้วการอดทนรอคอยเป็นพื้นฐานหลักสำคัญในการดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขในทุกๆ เรื่องแม้แต่เรื่องในชีวิตส่วนตัวหรือครอบครัวก็ต้องมีความอดทนต่อกัน เพราะในการดำเนินชีวิตในครอบครัวก็ใช่ว่าจะมีเรื่องถูกใจทุกเรื่อง ถ้าแก้ปัญหาความอดทนไม่ได้ ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ก็จะเกิดความเสียหายต่อตนเอง ครอบครัว หน้าที่การงาน หรือสังคม”



นอกจากนี้ในปัจจุบันคนจำนวนมากใช้ชีวิตอยู่กับโซเชียลมีเดียตลอดเวลา ทั้งเฟสบุ๊ก อินสตราแกรม ไลน์ ซึ่งเป็นข้อมูลสิ่งเร้าที่ถ้ารับมากเกินไปก็จะมีโอกาสทำให้เกิดความเครียดสะสม นพ.ไกรสิทธิ์ แนะนำว่า ในแต่ละวันควรแบ่งเวลาให้สมองได้พักบ้าง ไม่ว่าจะ ออกกำลังกาย มีกิจกรรม งานอดิเรกที่ทำให้เพลิดเพลินใจ รวมถึงการ ”พักใจ” โดยมีเวลาอยู่กับตัวเอง ตัดสิ่งที่จะเป็นสิ่งเร้าเข้ามารบกวนจิตใจออกให้หมด รวมทั้งเรื่องของโทรศัพท์และโซเชียลมีเดีย



“การปิดการติดต่อสักพัก แล้วมาอยู่กับตัวเองฝึกหายใจช้าลง ทำอะไรช้าลง สำรวจร่างกายตนเองว่ามีส่วนใดตึงเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว ก็พยายามผ่อนคลายส่วนนั้น จะช่วยให้มีสติมากกขึ้น รู้ตัวเองมากขึ้น การผ่อนคลายในแต่ละวันจะช่วยลดปัญหาความเครียดสะสม ลดโอกาสถึงจุดเดือดในกรณีประสบสถานการณ์ตึงเครียด”


การคิดบวกเป็นอีกเรื่องที่สมควรฝึกฝน นพ.ไกรสิทธิ์ บอกว่า คนเราทุกคนรวมทั้งตัวเรามีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ยามอารมณ์โกรธหรืออารมณ์เศร้า เสียใจเข้าครอบงำ ความสามารถในการมองเห็นข้อดีก็จะหายไปหมด เห็นแต่ข้อเสีย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรู้จักทบทวนและฝึกฝนมองข้อดีให้มากขึ้น จะทำให้คนเราโกรธกันยากขึ้น ให้อภัยกันง่ายขึ้น


“สิ่งสำคัญของการคิดบวกหรือการบริหารจิตใจ คือ การปฏิบัติ เปรียบเสมือนการเรียนว่ายน้ำ แม้จะอ่านหนังสือไป 20 เล่ม แต่ถ้าไม่เคยลงน้ำก็ว่ายไม่ได้ การคิดบวก การฝึกจิตใจให้ผ่อนคลาย การให้อภัยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนทุกวันให้เป็นนิสัย ฮอร์โมนความเครียดก็จะลดต่ำ การเจ็บป่วยทางกายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันสูง โรคกระเพาะก็จะลดลงตาม”


โรคเครียดคือ







  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม