คิดบวกเป็นพิษ Toxic Positivity


จันทร์จิรา ทำนา
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมนารมย์


หลายคนคงเคยได้ยินและรู้จักคำว่า Positive Thinking หรือ “การคิดเชิงบวก” ซึ่งหมายถึง การมองหาและคาดหวังแง่มุมดีๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตตามความเป็นจริงเมื่อเกิดปัญหาหรือข้อเสีย ไม่ใช่การมองทุกอย่างโดยเอาข้อดีมาปิดข้อเสีย แต่เป็นการมองเห็นข้อเสียนั้นแล้วยอมรับความเป็นจริงอย่างเข้าใจ หรือพยายามหามุมมองที่แตกต่างออกไปจากมุมมองปกติที่เราเคยมองโดย “ไม่หลอกตนเอง” แต่หากเมื่อไหร่ที่ เราฝืนบังคับตนเองและผู้อื่นให้มองเชิงบวกในเรื่องที่เลวร้าย โดยที่รู้สึกเจ็บปวดภายใน จนปัญหาทับถมกลายเป็นการทำร้ายตนเอง จะเรียกว่า ภาวะคิดบวกเป็นพิษ หรือ Toxic Positivity


จะรู้ได้อย่างไรว่าเรา “คิดบวกเป็นพิษ”? มี สัญญาณ ให้สังเกต ดังนี้
• ปัดปัญหาแทนการเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านั้น “ขอไม่พูดถึง ไม่รับรู้”
• ซ่อนความรู้สึกที่แท้จริงไว้ภายใต้คำพูดดีๆ “ทุกอย่างโอเค”
• พยายามอดทนต่ออารมณ์ความเจ็บปวด รู้สึกผิดที่จะเศร้าหรือโกรธ “ไม่ไหวบอกไหว”
• สนใจความรู้สึกคนอื่นน้อยลง เพราะทำให้ตัวเองไม่สบายใจ “ปัญหาของเขา ไม่ใช่ของเรา”
• ประณามคนอื่นเมื่อไม่คิดบวก “ทำไมไม่คิดบวกเข้าไว้”


Sensory integration

เราจะลด “ภาวะคิดบวกเป็นพิษ” ได้อย่างไร?
• “self-awareness” รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นตาม “ความเป็นจริง” “ไม่ไหว อย่าฝืน ไม่โอเคบ้างก็ได้”
• เข้าใจ และยอมรับกับอารมณ์ ความรู้สึกเชิงลบที่เกิดขึ้นตาม “ความเป็นจริง” พยายามจัดการโดยไม่ปฏิเสธ
• “empathy” ใจเขาใจเรา รับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน แสดงให้เห็นว่ายังมีเราตรงนี้เสมอ


อย่างไรก็ตาม การคิดบวกย่อมส่งผลดีต่อตัวเรามากกว่าการคิดลบ แต่อย่าลืมว่า ภายใต้การคิดบวกนั้น ต้อง มองทุกอย่างตามความเป็นจริง ไม่คาดหวัง และไม่ฝืนคิดบวก จนกลายเป็นปัญหา ไม่เช่นนั้น เราก็จะเข้าสู่ ภาวะคิดบวกเป็นพิษ หรือ Toxic Positivity




อ้างอิงข้อมูลจาก

• Why Toxic Positivity Can Be Harmful จาก Very Well Mind
• กระแสคิดบวกอาจกำลังสร้างความกดดันต่อวัยรุ่น จาก ThaiPublica
• คิดบวกเป็นพิษ จาก รอบรู้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์






  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม