ฝึกหายใจแบบ “Slow motion” พร้อมรับปัญหา สร้างความสงบ


นักจิตวิทยาคลินิก
โรงพยาบาลมนารมย์

ปัญหาและสิ่งที่ท้าท้ายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเสมอ โดยอารมณ์วิตกกังวลจะเป็นสัญญาณกระตุ้นให้เราแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่นิ่งนอนใจมากเกินไป เปรียบเหมือนสตาร์ทเครื่องยนต์ให้เดินหน้า แต่ปัญหาของหลายคน ไม่สามารถปิดเครื่องหรือสวิตช์ค้างไว้ ทำให้มีอารมณ์วิตกกังวลมากเกินไป


อารมณ์วิตกกังวลที่มากเกินไป ส่งผลต่อความสามารถของสมอง ทำให้ทำงานได้ลดลง ไม่สามารถตัดสินใจและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ



ฝึกหายใจ


• การหายใจที่ดีมีส่วนช่วยให้ลดภาวะวิตกกังวล การหายใจยาวถูกควบคุมด้วยระบบประสาทที่ทำงานให้ร่างกายผ่อนคลายทำให้อารมณ์ลดลง
• ความวิตกกังวลที่มากเกินไป มีผลต่อสมาธิ ความจำ ทำให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ลดลง
• ความเครียดทำให้ความจำไม่ได้ แม้แต่เด็กถ้าเครียดมีผลทำให้การเรียนไม่ดี ในผู้หญิงอาจแสดงออกถึงความกังวลด้วยการบ่น ซึ่งก็เป็นการดูแลตนเองอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามากไปก็อาจส่งผลเสียต่อสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง




ฝึกหายใจ

วิธีจัดการกับความฟุ้งซ่านในจิตใจ 2 ขั้นตอน



1. ฝึกการรู้ตัว รู้ทันอารมณ์ ถามตนเองว่ากำลังรู้สึกอะไร เมื่อเรารู้ว่ารู้สึกอย่างไร และยอมรับคนที่ชอบบ่น อาจจดบันทึกอารมณ์ทุกครั้งที่บ่น
2. หายใจแบบ Slow motion เพื่อให้การหายใจเข้าและออกสมดุล โดยการหาเก้าอี้นั่งสบายๆ หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ หายใจเข้าให้รู้สึกว่าหน้าท้องขยายขึ้น หายใจออกรู้สึกว่าหน้าท้องแฟ่บ ต่อมาหายใจเข้าออกช้าๆ หายใจเข้านับ 1-5 ก่อนลมหายใจออกสังเกตการหยุดนิ่งของการหายใจสักครู่ แล้วหายใจออกช้าๆ นับ 1-5



ผลของการฝึกหายใจ


1. กระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
2. การขยายตัวของหลอดเลือดฝอย สำหรับคนที่มึนงง เวลาเครียด ควรฝึกวันละ 15 นาที
3. กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทั้งกล้ามเนื้อหน้าผาก กล้ามเนื้อคอ คนที่แบกภาระมากมักมีความเจ็บปวดตามบ่าและไหล่
4. จิตใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน


ฝึกหายใจ




  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม