ฝึกลูกรักจัดการความกังวลด้วย Sensory System


รัฐกร น้อยสมวงษ์
นักกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลมนารมย์


ร่างกายของคนเรามักใช้ระบบประสาทรับสัมผัส (Sensory System) ในส่วนต่างๆ ของร่างกายจัดการกับความเครียดและวิตกกังวลโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว เช่น การดัดนิ้วเวลาเจอสถานการณ์ตึงเครียด หรือระบายอารมณ์โกรธโดยการต่อยหมอน ดังนั้น การนำระบบประสาทรับสัมผัสต่างๆ มาช่วยลดความตึงเครียดหรือความวิตกกังวลจึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยให้เด็กสามารถผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ ทั้งในโรงเรียนหรือสังคมของเด็กเอง

sensory_system

ความรู้สึกเครียดและวิตกกังวลมักเกิดก่อนหรือระหว่างสถานการณ์ที่เด็กไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ เมื่อเกิดความวิตกกังวล ร่างกายมักมีปฏิกิริยาต่างๆ เช่น เหงื่อออก หายใจเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกร้อน ทำอะไรไม่ถูก หรืออยากวิ่งหนี เป็นต้น การสอนให้เด็กรับรู้ถึงปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกายช่วยให้เด็กรู้เท่าทันเมื่ออยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวล หวาดกลัวหรือโกรธ เพื่อให้เด็กได้นำเอาวิธีการจัดการความวิตกกังวลผ่านระบบประสาทรับสัมผัสมาช่วยคลายความรู้สึกได้

ทั้งนี้ การให้เด็กเตรียมตัวและฝึกฝนกับสถานการณ์บ่อยๆ ย่อมทำให้เด็กจัดการกับความเครียดและวิตกกังวลได้ง่ายขึ้น ตามตัวอย่างการใช้ระบบประสาทสัมผัสส่วนต่างๆ ของร่างกายจัดการกับความเครียด ดังนี้


1. ระบบเอ็น กล้ามเนื้อและข้อต่อ (Proprioceptive sense)
• เคาะเข่า
• เคี้ยวหมากฝรั่ง
• บีบลูกบอลคลายเครียด (Stress ball)
• ชกหมอน

2. ระบบการทรงตัว (Vestibular sense)
• วิ่งอยู่กับที่
• ก้มหน้าแล้วหายใจลึกๆ

sensory_system


3. ระบบการรับรสและการกิน (Oral sense)
• อมลูกอม
• เป่าลูกโป่ง
• หายใจเข้าลึกๆ แล้วพ่นลมแบบปากเป็ด

4. ระบบการดมกลิ่น (Olfactory sense)
• ดมกลิ่นที่ผ่อนคลาย

5. ระบบการสัมผัส (Tactiles sense)
• ของเล่นแบบ Fidget toy
• ลูกบอลที่มีขนนุ่มนิ่ม

6. ระบบการมองเห็น (Visual sense)
• ตะเกียงลาวา (Lava lamp)
• ของเล่น Glitter wand



การได้ฝึกให้เด็กทดลองค้นหาวิธีหรือระบบต่างๆ ที่เหมาะกับตนเองและฝึกใช้อย่างถูกต้องสามารถช่วยให้เด็กรับมือกับความเครียดและวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


อ้างอิงข้อมูลจาก

• Anxiety and sensory-based coping skill for kids จาก The OT Toolbox






  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม