นริศรา พิณทอง
(นักกายภาพบำบัด) โรงพยาบาลมนารมย์
การออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยเผาผลาญพลังงานทำให้ไม่อ้วน และเป็นการดูแลสุขภาพโดยรวมที่ดีในระยะยาว และช่วยลดความเครียดได้ โดยมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนข้อมูลนี้ แต่ในทางกลับกันการออกกำลังกายที่มากเกินกว่าร่างกายจะรับได้ก็ให้โทษกับร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจาก
1) ทัศนคติ “ยิ่งออกกำลังกาย ยิ่งดี ยิ่งเห็นผลไว” ทำให้เกิด
- การปรับเพิ่มความหนัก ของการออกกำลังกายมากเกินไป เช่น ต้องการลดความอ้วน โดยการเผาผลาญแคลอรี่ให้มากขึ้น จึงปรับเพิ่มความเร็วและความชันของลู่วิ่ง เมื่อร่างกายปรับตัวไม่ดีพอ จึงเกิดความเครียดต่อร่างกายตามมา
- การปรับเพิ่มความถี่ สูงกว่าระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย โดยไม่เว้นระยะเวลาให้ร่างกายฟื้นตัวและผ่อนคลายอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความเครียดต่อร่างกาย
- การปรับเพิ่มปริมาณการฝึก ฝึกยกน้ำหนักต่อเนื่อง 2 – 3 อย่างภายในครั้งเดียว จนร่างกายเกิดความเครียด
2) ผู้ฝึกสอนเข้มงวดมากเกินไป จนสร้างความกดดันและความเครียดให้กับผู้ออกกำลังกาย
3) การอ่อนล้า ปวดเมื่อย บาดเจ็บสะสมเรื้อรัง
ภาวะตึงเครียดของร่างกายที่เกิดจากออกกำลังกายมากเกินไป จะแสดงอาการทั้งหมด 3 ระยะ
ระยะที่หนึ่ง ระยะนี้ดูไม่ค่อยออก ส่วนใหญ่มักเป็นอาการปวด และผลการตรวจเลือดยังปกติ
- เจ็บปวดกล้ามเนื้อ
- ระดับฮอร์โมนผิดปกติ หรือผู้หญิงมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- จิตใจหดหู่ กังวล วิตก
- นอนไม่หลับ
แก้ไข ปรับลดชั่วโมงการออกกำลังกาย ให้ได้มีสัปดาห์พักผ่อน แต่สามารถออกกำลังกาย
แบบเบาๆ เช่น แอโรบิค ได้
ระยะที่สอง ส่วนใหญ่พบในคนยกน้ำหนักหรือวิ่งเร็ว นิยมออกกำลังกายแบบใช้แรงระเบิด
ตลอดเวลา ร่างกายอยู่ในภาวะแอนนาแอโรบิค (Anaerobic)
- อยู่ไม่นิ่ง ออกกำลังแบบใช้แรงระเบิดตลอดเวลาได้เรื่อยๆ
- นอนไม่หลับ
- น้ำหนักไม่ลด บางรายเพิ่มขึ้น เพราะเพิ่มยิ่งออกกำลังกายก็ยิ่งหิว ร่างกายต้องการอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตตลอดเวลา
- ตรวจเลือดพบฮอร์โมน Cortisol สูงมาก
แก้ไข ต้องพักอย่างน้อย 3 สัปดาห์ แต่สามารถออกกำลังกายแบบเบาๆ เช่น แอโรบิค ได้
แบบเบาๆ เช่น แอโรบิค ได้
ระยะที่สาม เกิดความเครียดต่อร่างกายเรื้อรังอาจลามไปสู่สมอง กล้ามเนื้อเผาผลาญไม่สมดุล
ตับอักเสบเป็นพิษเพราะร่างกายหลั่งกรดแลคติคเกินปกติ อาการคล้ายระบบ
แอโรบิคทำงานไม่สมบูรณ์ รู้สึกเหนื่อยล้ามากตลอดเวลา เช่น เหนื่อยง่ายแค่เดินขึ้น
บันไดระยะสั้นๆ
แก้ไข หากอาการหนักมากต้องรักษาด้วยการฉีดฮอร์โมน Testosterone ระยะยาว และ
รับประทานโปรตีนจากธรรมชาติ ผัก ผลไม้ และออกกำลังกายแบบแอโรบิค เพื่อให้
ร่างกายกลับมาอยู่ในระยะแอโรบิคแทนระยะแอนนาแอบิคตลอดเวลา หยุดพักการ
ใช้ร่างกาย และเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมนและผลเม็ดเลือดเป็นหลัก
การออกกำลังกายมีผลช่วยลดความเครียด ส่งผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่หากหักโหมเกินไป เมื่อร่างกายรับไม่ไหวจะส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมต่อร่างกายได้เช่นกัน สิ่งสำคัญ คือ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ค่อยเป็นค่อยไป และมีวินัย จึงถือว่าเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายในระยะยาว
หมายเหตุ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายที่ใช้กำจัดของเสีย คือ กรดแลคติค ได้ หากร่างกายสะสมกรดแลคติคมากเกินไป ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะเครียดตลอดเวลา