พัฒนาการทางด้านสังคมในเด็กก่อนวัยเรียน (3 – 6 ปี)


สันติ จันทวรรณ
นักกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลมนารมย์

เด็กก่อนวัยเรียนเป็นกลุ่มเด็กที่มีพัฒนาการสำคัญหลายด้านซึ่งเป็นพื้นฐานต่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิตในอนาคต พัฒนาการด้านสังคมก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็กปรับตัวและพร้อมอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพัฒนาการด้านสังคมที่เด็กก่อนวัยเรียนควรมีประกอบไปด้วย



พัฒนาการเด็ก

1. การรับรู้ในตนเอง


• บอกได้ว่าตนเองเป็นใครชื่ออะไร


• รู้ข้อมูลของตนเอง
- ทราบเพศ
- ทราบอายุและวันเกิด
- รู้ชื่อจริงนามสกุลจริง
- แยกได้ว่าตนเองอยู่ในกลุ่มใด
- รู้ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อผู้ปกครอง
- รู้ชื่อผู้ปกครอง


• การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม
- สามารถอยู่แยกจากผู้ปกครองได้ 2-3 ชั่วโมง
- ชอบที่จะฟังเรื่องของตนเอง
- สามารถแสดงถึงความมั่นใจในตนเองและมีความเป็นตัวของตัวเอง
- เริ่มแสดงออกถึงความเป็นส่วนตัว
- มีความสามารถที่จะพึงพาตนเองได้มากขึ้น


• มีพัฒนาการที่เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น (มีเหตุมีผล)



พัฒนาการเด็ก

2. พัฒนาการด้านความมีระเบียบวินัย
• รับผิดชอบกิจวัตรประจำวันพื้นฐานของตนเองได้
• เริ่มมีบทบาทความรับผิดชอบของตนเอง
• แสดงถึงอารมณ์ ความคิด มุมมอง โดยใช้ภาษาท่าทางได้อย่างเหมาะสม
• แยกแยะได้ว่าเป็นสิ่งเป็นของส่วนตัวหรือสิ่งของส่วนรวม
• สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมที่มีกฎกติกาได้
• เคารพกฎระเบียบในห้องเรียนได้
• สามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้เมื่อต้องการ
• ทำตามที่บอกและดำเนินงานที่มอบหมายได้ถูกลำดับ
• ทำกิจกรรมและคงความสนใจได้จนเสร็จ
• สามารถทำกิจกรรมต่อได้หากทำไม่เสร็จก่อนหมดเวลา
• ยอมรับฟังข้อเสนอแนะจากคนอื่นได้



พัฒนาการเด็ก

3. การสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น
• ความเข้าใจถึงความรู้สึกของคนอื่นและตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
- แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ
- พูดคุยเปิดใจได้
- ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเขาต้องการ

• พฤติกรรมการเล่นที่เหมาะสม
- มีการแบ่งปันและให้ความร่วมมือ
- เล่นได้เหมาะสมกับสถานการณ์
- เล่นแสดงบทบาทเป็นคนอื่นได้ทั้งบทบาทเด็กและผู้ใหญ่

• การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น
- เรียนรู้ที่จะสร้างและคงความสัมพันธ์กับเพื่อนได้
- มีความสุขที่จะสร้างเสียงหัวเราะให้กับคนอื่น
- สามารถที่จะอยู่ร่วมเล่นกับเด็กในวัยเดียวกันได้
- พูดคุยสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย

• การแก้ปัญหา
- ทำงานที่จะต้องแก้ปัญหากับผู้อื่นได้



พัฒนาการเด็ก

4. ความร่วมมือและเป็นส่วนหนึ่งในสมาชิกทั้งในครอบครัวและสังคมภายนอก
• เรียนรู้และยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล

• มีส่วนร่วม เป็นสมาชิกในกลุ่มหรือกิจกรรมต่างๆ

• การเข้าหรือมีส่วนร่วมในการประชุม
- รู้จักการวางตัวในที่ประชุม
- รู้จักมารยาทที่ประชุม
- ไม่ประหม่าเวลาเจอคนแปลกหน้า

• ต่อรองกับผู้อื่นเพื่อเปลี่ยนกฎและสร้างกฎใหม่ที่เหมาะสม
• ใช้สิ่งที่มีหรือสิ่งที่กำหนดให้ได้อย่างเหมาะสม

• ช่วยเหลืองานบ้าน


ความสุขในวัยเกษียณ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญแต่ต้องมาจากการวางแผนชีวิตที่ดี รู้จักเก็บออมวางแผนทางการเงิน ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดี หมั่นสังเกตอารมณ์ตัวเอง ปรับจิตใจให้สบาย รวมทั้งมีทักษะการจัดการปัญหาสามารถปรับตัวได้ดีและมีความมั่นคงทางจิตใจหากเด็กมีพัฒนาการด้านสังคมไม่เหมาะสมตามวัย ผู้ปกครองควรให้การฝึกฝนหรือสอนทักษะด้านสังคมให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยมากขึ้น หรือเมื่อพบปัญหาการสอนหรือฝึกฝนให้เด็ก อาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำหรือฝึกทักษะด้านสังคมให้กับเด็กเพื่อความเหมาะสมต่อไป






  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม