สัญญาณเตือนออทิสติก


พญ.ปรารถนา เจรียงประเสริฐ
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์

สัญญาณเตือนออทิสติก

เนื่องจากวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาเป็น วันออทิสติกโลก หมอจึงอยากใช้โอกาสนี้ให้ความรู้เบื้องต้นกับผู้ปกครองทั้งหลายเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อให้ช่วยกันเฝ้าระวังบุตรหลานใกล้ตัวเพราะโรคออทิสติกนั้นในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จากงานวิจัยพบว่าน่าจะเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น ปัจจัยด้านพันธุกรรม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พ่อหรือแม่มีอายุมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น ซึ่งโรคนี้จะทำให้โครงสร้าง หน้าที่ การทำงาน และสารเคมีในสมองผิดปกติ ส่งผลให้พัฒนาการของสมองเกิดความผิดปกติล่าช้าไป 3 ด้าน คือ สังคม ภาษา และพฤติกรรม โดยในเด็กบางคนตรวจพบความผิดปกติหลังจากอายุ 1 ½ - 2 ขวบ หมายถึง เด็กอาจสูญเสียทักษะบางอย่างที่เคยทำได้แล้ว เช่น จากที่เคยพูดได้คล่อง กลับหยุดพูดไป หรือภาษาท่าทางต่างๆ หายไป


สาเหตุของโรคออทิสติก

พ่อแม่หลายๆ คนที่สงสัยว่าลูกเป็นออทิสติกหรือไม่ มักคิดไปก่อนว่า “ลูกคงไม่เป็นหรอก แค่พูดช้าเฉยๆ เดี๋ยวก็พูดได้เอง รอดูไปก่อน” ซึ่งความคิดเช่นนี้อาจทำให้เด็กๆ หลายคนได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ซึ่งส่งผลเสียต่อการรักษา


ปัจจุบันพบว่ากลุ่มเด็กออทิสติกที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็วตั้งแต่ระยะแรก (Early Detection) และได้รับการรักษากระตุ้นพัฒนาการอย่างทันท่วงทีนั้น มีผลการรักษาที่ดีกว่า มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้เร็วกว่ากลุ่มเด็กออทิสติกที่มารับการรักษาล่าช้า แต่อย่างไรก็ตาม อาจขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ระดับสติปัญญาของเด็ก หรือโรคที่พบร่วมอื่นๆ เป็นต้น


วิธีการสังเกตอาการออทิสติกเบื้องต้น หากลูกๆ หลานๆ มีอาการเหล่านี้เพียงแค่ “บางข้อ” ผู้ปกครองควรรีบพามาประเมินเนื่องจากมีความเสี่ยง


1. สัญญาณเตือนออทิสติกในเด็กทารกและเด็กวัยอนุบาล
อายุ 6 เดือน สบตาน้อย ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า หรือไม่ยิ้มตอบโต้ผู้ใหญ่
อายุ 9 เดือน ไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่ยิ้ม
อายุ 12 เดือน ไม่ชี้นิ้ว เอื้อมหยิบของ โบกมือลา พูดไม่เป็นภาษา ไม่หันตามเสียงเรียก
อายุ 16 เดือน ไม่พูดคำที่มีความหมาย เช่น หมา
อายุ 24 เดือน ไม่พูดคำที่มีความหมายหรือวลีสั้นๆ เช่น กินข้าว ไปเที่ยว จะเอา



โรคออทิสติก
2. สัญญาณเตือนออทิสติกในเด็กทุกวัย


เด็กๆ ที่มีอาการออทิสติกนั้นแม้ในปัจจุบันยังไม่มีหนทางรักษาให้หายได้ แต่ด้วยความรู้ทางการแพทย์ที่ล้ำหน้า การตรวจพบได้เร็วสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการอย่างทันท่วงที ช่วยให้เด็กๆ สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างมีคุณภาพและมีความสุข


โรคออทิสติก




  • ค้นหาแพทย์และนักบำบัด
  • โทรนัดหมายแพทย์
  • ติดต่อสอบถาม