พญ. อังคณา อัญญมณี
จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์
ความอ้วนเป็นปัญหาที่พบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จากสถิติในปี พ.ศ.2550 พบว่าเด็กวัยอนุบาลและประถมเป็นโรคอ้วนสูงถึงร้อยละ 15 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ
ปี
ความอ้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพทุกด้าน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความอ้วนก่อให้เกิดโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจอุดกลั้น เด็กจะมีการหยุดหายใจชั่วขณะ ทำให้หลับไม่สนิท กลางวันจึงง่วง ขาดสมาธิ และการที่ออกซิเจนในเลือดต่ำ
อาจทำให้เรียนรู้ได้ช้า การเรียนแย่ลง นอกจากนี้ร่างกายที่เทอะทะ ต้วมเตี้ยมยังเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เด็กขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะทางสังคม
เนื่องจากขาดความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว เด็กจึงไม่สามารถวิ่งเล่นหรือเล่นกีฬาร่วมกับเพื่อนๆ แต่จะเลี่ยงไปทำกิจกรรมอื่นแทน
เช่น อ่านการ์ตูน เล่นเกม ซึ่งทำให้เด็กแยกห่างจากเพื่อนๆ เมื่อโตขึ้นเด็กอาจมีเพื่อนน้อย ไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อน
ถูกเพื่อนล้อ กลั่นแกล้งและเอาเปรียบ เด็กที่ไม่มีความเข้มแข็งทางใจและแก้ปัญหาไม่ได้ อาจเกิดภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้าตามมา
และยิ่งหมกมุ่นอยู่กับกิจกรรมที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวมากขึ้นจึงทำให้อ้วนยิ่งขึ้น เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้ใช้พลังงานและสามารถรับประทานขนมได้ตลอดเวลา
การควบคุมน้ำหนักมีหลายวิธี วิธีที่ได้ผลถาวรและมีความปลอดภัยคือการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว
วิธีการนี้ต้องอาศัยความตั้งใจและอดทน มีวินัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องจึงสำเร็จ วัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มักทำสิ่งต่างๆ
ตามอารมณ์มากกว่าวิเคราะห์หาเหตุผล มีความยากลำบากในการอดทนรอคอยจึงไม่เลือกวิธีนี้ อีกทั้งเรื่องรูปร่างยังเป็นเรื่องที่มีผลต่อความมั่นใจและใช้เป็นสิ่งกำหนดคุณค่าของตนเอง
ยิ่งทำให้วัยรุ่นต้องรีบลดน้ำหนักโดยวิธีง่ายๆ เช่น ใช้ยาลดความอ้วนและ ยาเสพติด แม้จะทราบว่ายาเหล่านี้มีผลเสียต่อสุขภาพก็ตาม
ไม่มีเด็กคนไหนอยากถูกเรียกว่า “ไอ้อ้วน” แต่เมื่ออ้วนไปแล้ว เด็กก็ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร การช่วยเด็กและวัยรุ่นจัดการกับความอ้วนอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกๆ
ฝ่าย โดยเริ่มต้นที่ครอบครัวเป็นหลัก
1. พ่อแม่ต้องเห็นความสำคัญของปัญหาและใส่ใจในการช่วยลูกแก้ปัญหานี้ เพราะลำพังตัวเด็กเอง ไม่สามารถที่จะจัดการได้
2. พ่อแม่ควรมีความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในด้านต่างๆ
โดยถามตัวเองดังนี้
พ่อแม่จัดเตรียมอาหารและขนมไว้ให้เด็กมากไปหรือไม่ พ่อแม่เป็นคนรับประทานเยอะและตลอดเวลาหรือไม่
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร :
พ่อแม่จัดเตรียมอาหารและขนมไว้ให้เด็กมากไปหรือไม่ พ่อแม่เป็นคนรับประทานเยอะและตลอดเวลาหรือไม่
พฤติกรรมการออกกำลังกาย :
พ่อแม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอหรือไม่ พ่อแม่เคยพาเด็กออกกำลังกายด้วยหรือไม่
กิจกรรมที่เด็กทำ :
พ่อแม่สนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นๆ บ้างหรือไม่ นอกจากการเรียนพิเศษ อ่านหนังสือ ดูทีวีและเล่นเกม
1. พูดคุยกับลูกด้วยความเข้าใจ ไม่ใช้วิธีการตำหนิหรือกระเซ้าเย้าแหย่ ให้ลูกได้พูดถึงผลกระทบที่เกิดจากความอ้วน จากนั้นพ่อแม่ควรแสดงความเห็นใจและกระตุ้นให้ลูกตัดสินใจที่จะแก้ไข
2. ช่วยลูกหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา พ่อแม่ก็ต้องปรับพฤติกรรมของตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการควบคุมน้ำหนักและชวนลูกทำไปด้วยกัน
3. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการลดเท่าไร ในระยะเวลาเท่าไร ควรเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริงในระยะเวลาสั้นๆก่อน เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จและอยากที่จะทำต่อไป
4. กำหนดแนวทางอย่างป็นรูปธรรม เช่น ปริมาณอาหาร จำนวนมื้ออาหาร เวลาออกกำลังกาย 5. ให้รางวัลแก่ลูก เมื่อสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จตามเป้าหมาย
6. หากลูกทำไม่สำเร็จ พ่อแม่ควรให้ความเชื่อมั่น กำลังใจจะช่วยลูกปรับเปลี่ยนแนวทางให้เหมาะสมขึ้น 7. มองหาข้อดีของลูก
หมั่นชื่นชมและสนับสนุนให้ลูกพัฒนาต่อไป เพื่อให้ลูกมั่นใจว่ารูปร่างไม่ใช่ตัวกำหนดคุณค่าทั้งหมดของลูก หากลูกควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการที่เหมาะสม
เราก็จะมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ เป็นคนมีคุณค่ามีความพร้อมที่จะทำสิ่งดีต่อไป